จัดฟันบางนา: สาเหตุของปัญหากลิ่นปาก ที่คุณอาจไม่เคยทราบมาก่อน

จัดฟันบางนา: สาเหตุของปัญหากลิ่นปาก ที่คุณอาจไม่เคยทราบมาก่อน แน่นอนว่าบางครั้งสาเหตุอาจมาจากอาหารหรือโรคทางเดินอาหาร ประมาณร้อยละ 90 ของเคสทั้งหมด อย่างไรก็ตามสาเหตุของลมหายใจมีกลิ่นหรือภาวะมีกลิ่นปากนั้นเกิดขึ้นในช่องปากหรือลำคอ คนร้อยละ 6 มีปัญหาลกิ่นปากตลอดเวลา ในขณะที่ทุกๆ 4 คนจะเจอปัญหานี้บ้างบางคราว ซึ่งสามารถพบได้มากกว่าในผู้สูงอายุ และในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

การแปรงฟันไม่สะอาดเพียงพอ การละเลยต่อการทำความสะอาด ทำให้มีฟันผุหรือเหงือกอักเสบ มีเศษอาหารตกค้างในบริเวณที่แปรงเข้าไปไม่ถึง เชื้อโรคเกิดการหมักหมมทำให้เกิดกลิ่นได้ ร่วมกับมีกลิ่นเหม็นจากเหงือกที่อักเสบและการมีเลือดออก

สาเหตุของ “กลิ่นปาก”

-อาหารกลิ่นแรงๆ มักเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดปัญหากลิ่นปาก ไม่ว่าจะเป็นกระเทียม หอม สะตอ หรือแม้กระทั่งอาหารกระป๋องอย่าง ปลากระป๋อง ทูน่ากระป๋อง และเครื่องเทศต่างๆ ทำให้เกิดกลิ่นปากหลังทานได้ทันที หากทานอาหารเหล่านี้ วิธีแก้ปัญหาก็ง่ายๆ เพียงแค่แปรงฟัน บ้วนปากด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำยาบ้วนปาก หรือเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีกลิ่นมิ้นท์ช่วยลดกลิ่นปาก เท่านี้ก็เรียบร้อย

-ใครที่มีปัญหาฟันผุ เหงือกอักเสบ หรืออาการติดเชื้อที่ช่องคอ เช่น ไซนัส ปอด ปากคอแห้งจากปัญหาน้ำลายน้อย ปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหากลิ่นปากได้เช่นกัน

-ยังมีโรคประจำตัวที่ทำให้เกิดกลิ่นปากอีกมากมาย ทั้งโรคเบาหวาน กรดไหลย้อน มะเร็ง โรคไต โรคตับ โรคหืด และโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารอื่นๆ หากมีโรคประจำตัวดังกล่าวสามารถปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อแก้ไขปัญหากลิ่นปากที่เกิดขึ้นได้

-เชื่อหรือไม่ว่าการทานยาบางชนิดอาจทำให้เกิดกลิ่นปากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง เป็นต้น

กลิ่นปาก เกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ การรักษาคือการแก้ไขสาเหตุเหล่านั้น ประกอบกับการปรับพฤติกรรมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีในช่องปาก ที่สำคัญที่สุดคือ อย่าปล่อยให้ปากแห้ง และ การดื่มน้ำจะช่วยขจัดแบคทีเรียและช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในช่องปาก ช่วยขจัดคราบบนลิ้นและเสมหะในลำคอ ตลอดจนเศษอาหารที่ติดอยู่ตามร่องของทอนซิล และทำให้มีน้ำลายเพิ่มขึ้น ฉะนั้นควรแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร และ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในช่องปากให้เหมาะสมที่ไม่ทำให้ปากแห้ง แต่ถ้าหากยังมีกลิ่นปากอย่างเรื้อรัง ขอแนะนำให้ไปพบทันตแพทย์ เพื่อทำการซักประวัติ ทั้งในเรื่องของโรคประจำตัวและการดูแลอนามัยภายในช่องปากและตรวจเพื่อหาสาเหตุของโรคต่อไป

Related posts