บริการจัดการอาคาร: ตรวจเช็คทำไมต้องตรวจเช็คสายไฟและระบบไฟฟ้า

บริการจัดการอาคาร: ตรวจเช็คทำไมต้องตรวจเช็คสายไฟและระบบไฟฟ้า หากใครสงสัยว่าทำไมการ ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าบ้าน จึงสำคัญ คำตอบคือ เพราะกระแสไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนการทำงานของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงระบบแสงสว่างภายในบ้านให้เป็นไปตามความต้องการได้ แต่ในขณะที่สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ต้องใช้กระแสไฟฟ้าในการทำงานเพื่อช่วยให้การใช้ชีวิตภายในบ้านของคุณนั้นสะดวกสบายแต่ความสะดวกสบายนั้นก็สามารถเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของคุณได้เช่นเดียวกัน

ถ้าสายไฟฟ้าภายในบ้านรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกระแสไฟฟ้าที่เข้าสู่บ้านนั้น ทำงานผิดปกติจากเดิมหรือชำรุดเนื่องจากขาดการซ่อมบำรุงหรือเอาใจใส่ขณะและใช้งานมาเป็นเวลานานแล้ว

บทความนี้จะช่วยให้คุณได้ตระหนักถึงความสำคัญของการ ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าบ้าน และสายไฟของคุณ เนื่องจากเป็นเรื่องภายในบ้านที่ใกล้ตัว และในหลายๆ ครั้งคุณอาจจะมองข้ามไป แต่เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้ถูกใช้งานเป็นเวลานานแล้วก็ควรได้รับการตรวจเช็คการทำงานอย่างถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของคุณ

ทำไมต้องตรวจเช็คสายไฟและระบบไฟฟ้าในบ้าน

สายไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่เกือบตลอดเวลา เพราะมีการวิ่งผ่านของกระแสไฟฟ้าภายในสายไปสู่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน ทำให้เมื่อมีการใช้งานเป็นระยะเวลานานหลายปีสายไฟฟ้าในบ้านก็จะมีการเสื่อมสภาพได้ บ้านที่ควรได้รับการตรวจเช็คสายไฟฟ้าเป็นพิเศษได้แก่ บ้านที่มีอายุหลายปี บ้านใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จ บ้านที่ได้รับการรีโนเวท (Renovate) รวมถึงการมีอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเป็นจำนวนมาก มักจะพบปัญหาการทำงานของสายไฟฟ้าที่อาจส่งผลเสียหรือสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินได้ภายหลังถ้าไม่มีการตรวจเช็คให้ดีก่อนใช้งาน

การตรวจเช็คสภาพเพื่อจะได้ประเมินความเสียหายและแก้ไขระบบสายไฟฟ้าให้ทำงานได้อย่างปลอดภัย

นอกจากนี้แล้วการเสื่อมสภาพอาจจะไม่ได้มีสาเหตุจากการใช้งานเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะมาจากปัจจัยภายนอก เช่น โดนลมพายุ โดนน้ำฝน แสงแดด หนูแทะ เป็นต้น

3 เหตุการณ์ที่เกิดได้บ่อยเมื่อเกิดการชำรุดของสายไฟภายในบ้าน

1. ไฟกระชาก

ไฟกระชากที่ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่บ้านได้อย่างไม่ปกติ ซึ่งเกิดได้จากปัจจัยภายนอกบ้านอย่าง พายุฝน ลมกรรโชกแรง ฟ้าผ่า การลัดวงจรในระบบในระบบสายไฟฟ้ากำลัง ที่ทำให้แรงดันไฟฟ้าผิดปกติไปส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่เปราะบางมีอายุการใช้งานที่สั้นลงได้

2. ไฟฟ้าลัดวงจร

กระแสไฟฟ้าที่วิ่งอยู่ในสายไฟมักมีความร้อนเมื่อเปิดใช้งานเป็นเวลานาน เมื่อมีการใช้งานเป็นเวลาหลายปีควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายไฟในบ้านชำรุดเสียหายหรือไม่โดยเฉพาะในส่วนที่มองไม่เห็นอย่าง ฝ้าเพดาน ซึ่งการลัดวงจรของสายไฟฟ้ามักจะก่อให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้

3. ไฟช็อต

ไฟช็อตที่เกิดขึ้นเมื่อสัมผัสกับเครื่องใช้ไฟฟ้า ลูกบิดประตู หรืออุปกรณ์ภายในบ้านที่เป็นโลหะ อาจมีสาเหตุมาจากไฟรั่วจากสายไฟบ้านที่ชำรุดทำให้กระแสไฟฟ้าไหลออกมาสู่ภายนอก ซึ่งการสัมผัสกระแสไฟฟ้าโดยตรงจะมีอันตรายต่อชีวิตได้

5 เคล็ดลับการ “ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าบ้าน”

1. ตรวจเช็คสายไฟฟ้า

สายไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จะถูกตั้งตั้งไปทั่วตัวบ้านเพื่อให้กระแสไฟฟ้าถูกส่งผ่านไปยังจุดจ่ายไฟทั้งภายใน และนอกตัวบ้าน ซึ่งโดยปกติแล้วสายไฟจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 10-20 ปี เมื่อครบอายุการใช้งานแล้วก็ควรได้รับการตรวจสอบว่าควรเปลี่ยนหรือไม่

สำหรับบ้านใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จหรือบ้านที่เพิ่งได้รับการรีโนเวทใหม่ จะมีการเดินระบบสายไฟฟ้าทั้งภายในและภายนอกบ้านใหม่ ควรเริ่มตรวจสอบตั้งแต่การจัดเรียงสายไฟฟ้าว่าจัดวางเรียบร้อยหรือไม่ รวมถึงจุดเสี่ยงของสายไฟฟ้าที่อยู่ภายนอกตัวบ้าน ห้องน้ำ ห้องครัว ที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อคนในบ้านได้

เริ่มการตรวจเช็คระบบไฟฟ้าบ้าน ด้วยการเช็คสายไฟฟ้า โดยปกติแล้วสายไฟฟ้าจะมีปลอกฉนวนหุ้มอยู่ภายนอก แต่เมื่อใช้งานเป็นเวลานานจะเกิดเป็นสีที่เข้มขึ้น หากพบว่ามีการแตกออกหรือชำรุดควรรีบเปลี่ยนสายทันที นอกจากนี้แล้วสายไฟฟ้าที่อยู่ในบริเวณบนฝ้าเพดานก็ควรได้รับการตรวจสอบบ่อยครั้ง เพื่อป้องกันการถูกัดแทะจากหนูที่จะทำให้เกิดการลัดวงจรได้

2. เมนสวิตซ์ไฟฟ้าและระบบตัดไฟ

การตรวจสอบเบรคเกอร์หรือตู้ไฟที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป และจะเปิดเฉพาะตอนที่มีปัญหาเบรคเกอร์ตัดไฟเมื่อเกิดไฟลัดวงจรเท่านั้น แต่สำหรับบ้านเก่าเมื่อเราไม่ได้เปิดดูภายในเป็นเวลานาน อาจจะมีแมลงหรือสัตว์เข้าไปทำรังอยู่ภายใน ทำให้ไปขัดขวางการทำงานของระบบตัดไฟได้ง่าย

การตรวจเช็คระบบตัดไฟในบ้าน สำหรับบ้านใหม่ที่เพิ่งวางระบบไฟฟ้าเสร็จหรือที่เพิ่งผ่านการรีโนเวทบ้านไป ตู้ไฟควรถูกตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อจะได้ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรื้องานภายหลังจำนวนมากได้ เริ่มตั้งแต่การดูความเรียบร้อยของการจัดสายไฟในตู้ การแยกสีชัดเจนเพื่อการซ่อมแซมในอนาคต ขนาดเบรคเกอร์ที่เหมาะสมกับกับขนาดสายไฟ

3. ตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้า

หน้าที่ของมิเตอร์คือวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน โดยถูกวัดค่าออกมาเป็นหน่วยตัวเลขเพื่อนำไปคิดเป็นค่าไฟบ้านในแต่ละเดือน มิเตอร์ไฟฟ้าจะวิ่งเฉพาะตอนที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเท่านั้น เมื่อเราลองปิดสวิตซ์ไฟทั้งผมด รวมถึงถอดปลั๊กของเครื่องใช้ไฟฟ้าออกจนหมดจะพบว่ามิเตอร์วัดไฟจะหยุดหมุน นั่นหมายความว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ตัวของมิเตอร์นั่นเอง

การตรวจเช็คไฟฟ้าในบ้านด้วยมิเตอร์ เมื่อลองปิดสวิตซ์ไฟทั้งหมดในบ้าน รวมถึงถอดปลั๊กออกจนหมดแล้วพบว่ามิเตอร์ไม่หมุน นั่นหมายความ่าอาจจะมีไฟฟ้ารั่วภายในบ้าน โดยที่การรั่วของไฟฟ้านี้ควรได้รับการตรวจสอบและแก้ไขทันที เนื่องจากอาจจะเกิดไฟฟ้ารั่วในจุดเสี่ยงที่เรามองไม่เห็นภายในตัวบ้าน หรือเป็นพื้นที่ที่คนในบ้านอาจได้รับอันตรายได้ง่าย

4. ตรวจสอบปลั๊กไฟ

ตรวจสอบเต้ารับทุกจุดภายในบ้านว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่ ในกรณีที่พบว่าบางจุดใช้งานไม่ได้ก็ควรได้รับการซ่อมแซมทันทีเนื่องจากสายไฟภายในอาจมีการขาดหรือชำรุดเกิดขึ้น เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจุดที่เสียหายของสายไฟจะทำให้เกิดไฟฟ้ารั่วได้ง่าย

การตรวจสอบปลั๊กไฟ ระบบปลั๊กไฟสมัยใหม่มักมีรูเสียบ 3 ตา เนื่องจากจะมี 1 รูที่เป็นกาเชื่อมลงสายดินเพื่อป้องกันอันตรายของผู้ใช้ไฟฟ้าจากการถูกไฟดูด เมื่อมีไฟรั่วเกิดขึ้นกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ทั้งนี้สายดินจะทำงานได้สมบูรณ์ต้องตรวจสอบปลายสายด้านที่ต่อลงดินเป็นวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้า ซึ่งต่อมาจากเมนสวิตซ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง เครื่องทำน้ำอุ่นโดยตรง

5. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน

นอกจากระบบสายไฟฟ้าที่ต้องตรวจเช็คแล้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านก็ควรได้รับการตรวจเช็คเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา ก็ควรต้องตรวจสอบสภาพการใช้งานตั้งแต่ส่วนปลั๊กไฟ สายไฟ ไปจนถึงตัวอุปกรณ์ถึงการชำรุดเสียหายในระหว่างการทำงาน เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดปัญหาไฟรั่ว หรือการลัดวงจรในระหว่างการทำงานได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้หรือการระเบิดของอุปกรณ์ได้

การตรวจเช็คเครื่องใช้ไฟฟ้า ควรสำรวจตั้งแต่ลักษณะภายนอกว่ามีโอกาสเกิดไฟรั่วหรือไม่ โดยใช้ไขควงวัดไฟแตะเข้ากับตัวอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแม้กระทั้งโลหะในบ้านที่อยู่ใกล้เคียงอุปกรณ์เหล่านี้ เมื่อแตะไขควงวัดไฟแล้วพบว่ามีกระแสไฟฟ้าก็ไม่ควรสัมผัสกับอุปกรณ์เหล่านี้หรือให้หยุดใช้งานไปก่อน และตัดไฟในบริเวณนั้นก่อนเพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในครัวและห้องน้ำควรตรวจสอบให้ละเอียด

Related posts