ปัจจัยที่มีผลต่อการรับประทานอาหารและภาวะโภชนาการอาหารสายยาง

ปัจจัยที่มีผลต่อการรับประทานอาหารและภาวะโภชนาการอาหารสายยาง การได้รับสารอาหารและสารน้ำมีผลต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งเป็นความจำเป็นสำคัญของการมีชีวิตอยู่ได้ โดยปริมาณและคุณค่าของอาหารมีผลต่อร่างกายและจิตใจ การได้รับอาหารน้อยหรือไม่มีประโยชน์ และมีสุขลักษณะการรับประทานอาหารที่ไม่ดีนั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการติดโรคต่างๆ รวมทั้งส่งผลให้การเจ็บป่วยเรื้อรังนั้นมีอาการที่แย่ลง

น้ำ มีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต การได้รับน้ำมากหรือน้อยเกินไปส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตได้ โดยส่วนมากคนเราได้รับน้ำจากสารเหลวและอาหาร แต่จะมีการสูญเสียน้ำไปทางปัสสาวะ อุจจาระ การอาเจียน ทางผิวหนัง(เหงื่อ) และกายหายใจ

ปริมาณของสารน้ำที่ได้รับและปริมาณของสารน้ำที่เสียไปต้องมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ถ้าหากสารน้ำที่ได้รับมากเกินไป จะทำให้เนื้อเยื่อมีการคั่งของน้ำที่เรียกว่า การบวมน้ำ โดยส่วนมากจะได้รับการบวมน้ำในผู้สูงอายุที่เป็นโรคหัวใจ โรคไต ส่วนการได้รับน้ำที่น้อยเกินไปนั้นมักเกิดจากการอาเจียน ท้องเสีย เสียเลือด เสียเหงื่อมาก และปัสสาวะออกมาก

โดยส่วนมากในผู้ใหญ่มีความต้องการสารน้ำปริมาณ 2000 ถึง 2500 ซีซี ความต้องการสารน้ำจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีอากาศร้อน มีการออกกำลังกาย เป็นไข้ ภาวะความเจ็บป่วยที่ทำให้เสียน้ำเพิ่มขึ้น แต่ขึ้นกับโรคประจำตัวของแต่ละบุคคล เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น น้ำในร่างกายจะลดลง ดังนั้นความรู้สึกกระหายน้ำจะลดลงด้วยเมื่อร่างกายมีความต้องการน้ำ ดังนั้น ในผู้สูงอายุจึงควรมีการวางแผนการดูแลเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับน้ำอย่างเพียงพอ

ปัจจัยที่มีผลต่อการรับประทานอาหารและภาวะโภชนาการ

หลายๆปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการและอุปนิสัยการรับประทานอาหาร เริ่มขึ้นตั้งแต่วัยทารกมีไปจนกระทั่งตลอดการมีชีวิตอยู่ โดยปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่

1. อายุ เมื่อมีอายุมากขึ้นระบบการย่อยอาหารมีการเปลี่ยนแปลงไปจากภาวะปกติ

2. วัฒนธรรม โดยวัฒนธรรมมีผลต่อการเลือกอาหารและการเตรียมอาหาร

3. ศาสนา การเลือกรับประทานอาหาร การเตรียมอาหาร และการรับประทานอาหารนั้น บ่อยครั้งเป็นผลมาจากศาสนา ซึ่งส่วนมากจะเลือกอาหารตามความเชื่อของตนเอง ดังนั้นผู้ดูแลต้องยอมรับในความเชื่อของบุคคลด้วย

4. ความอยากอาหาร ความอยากอาหารนั้นมีผลต่อความต้องการการได้รับอาหาร โดยความหิวนั้นจะทำให้คนเราค้นหาอาหารและรับประทานอาหารนั้น ๆ จนเพียงพอ แต่อย่างไรก็ตาม ความเบื่ออาหารนั้นอาจเกิดได้จากภาวะความเจ็บป่วย ยา ภาวะความวิตกกังวล ความปวดและภาวะซึมเศร้า ซึ่งส่วนมากผู้สูงอายุนั้นจะมีภาวะความเบื่ออาหารมากขึ้น จากการรับรสและการได้รับกลิ่นลดลง

5. ความชอบของแต่ละบุคคล ความชอบและไม่ชอบอาหารของบุคคลนั้นมีอิทธิพลเป็นอย่างมาก โดยส่วนมากคนเราจะหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดการแพ้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือปวดศีรษะได้

6. ภาวะความเจ็บป่วย ความอยากอาหารมักจะลดลงเมื่อเกิดภาวะความเจ็บป่วยหรือการฟื้นตัวจากการได้รับบาดเจ็บ และหลังการผ่าตัด แต่ภาวะเหล่านี้เป็นภาวะที่ควรได้รับอาหารที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องต่อสู้กับการติดเชื้อ ดังนั้นจึงมีความต้องการสารอาหารมาช่วยในเรื่องการหายของแผล และชดเชยปริมาณเลือดที่เสียไป หรือแม้แต่การสูญเสียสารอาหารจากการอาเจียนและท้องเสียก็มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการชดเชย โดยโรคบางอย่างและยาบางชนิดนั้นมีผลต่อการเกิดแผลในปาก ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะรับประทานอาหาร

การเตรียมผู้สูงอายุรับประทานอาหาร

ผู้สูงอายุมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านตามที่ได้กล่าวมา อาจจะพบความเบื่ออาหาร มีอาการหลงลืม หรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องคอยดูแลในการจัดเตรียมอาหารให้พร้อมเพื่อเป็นการส่งเสริมการรับประทานอาหารในผู้สูงอายุ

วิธีปฏิบัติ

ดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับการใส่อุปกรณ์การช่วยเหลือต่างๆให้ครบ เช่น แว่นตา เครื่องช่วยฟัง เป็นต้น
ทำความสะอาดปาก ฟัน เพื่อเพิ่มความอยากอาหาร เตรียมให้ผู้สูงอายุใส่ฟันปลอมให้พร้อม
ดูแลจัดการเกี่ยวกับการขับถ่ายให้เรียบร้อย ทำความสะอาดและซับให้แห้งเพื่อให้ผู้สูงอายุสุขสบาย
หากผู้สูงอายุรับประทานอาหารบนเตียง ปฏิบัติดังนี้
4.1 ไขเตียงขึ้นให้ผู้สูงอายุอยู่ในท่าที่สุขสบาย
4.2 ดูแลโต๊ะคร่อมเตียงให้สะอาด และจัดโต๊ะคร่อมเตียงให้อยู่ด้านหน้าของผู้สูงอายุ
4.3 จัดสิ่งแวดล้อมให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ
หากผู้สูงอายุนั่งรับประทานอาหารปฏิบัติดังนี้
5.1 จัดให้ผู้สูงอายุได้นั่งบนเก้าอี้หรือรถเข็น
5.2 จัดโต๊ะคร่อมเตียงให้สะอาด และจัดวางไว้ด้านหน้าผู้สูงอายุ
5.3 จัดสิ่งแวดล้อมให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ
เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมได้แก่ ผ้ากันเปื้อน ผ้าผืนเล็กสำหรับเช็ดปาก แก้ว น้ำ ชามรูปไต เป็นต้น

Related posts