Forex (ฟอเร็กซ์) ทำกำไรได้อย่างไร ?

Forex (ฟอเร็กซ์) ทำกำไรได้อย่างไร ? การเรียนรู้หลักการในการทำความเข้าใจต้องเริ่มต้นจากพื้นฐาน ถ้าเรามีพื้นฐานที่ดี และถูกต้อง เราก็จะสามารถ เอาความรู้ที่ได้ ไปต่อยอดในการศึกษาด้านอื่นๆ ได้ดีและมีประสิทธิภาพ

การเทรดค่าเงินในตลาดฟอเร็กซ์ รูปแบบการซื้อ-ขาย(เทรด)จะอยู่ในรูปแบบคู่สกุลเงิน (Currency Pair) กำไรหรือขาดทุนขึ้นอยู่กับส่วนต่างของค่าสกุลเงินที่กำลัง Match กันอยู่ ณ ขณะนั้น พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ การซื้อในราคาต่ำแล้วขายราคาสูง หรือการได้ขายในราคาสูงจากที่ซื้อมาราคาต่ำเป็นต้น ก็เหมือนกับการเทรดในตลาดหุ้นทั่วๆไป ถ้านักลงทุนท่านใดมีพื้นฐานการเทรดหุ้นมาก่อนแล้ว ก็สามารถมาต่อยอดเรียนรู้การเทรดค่าเงินในตลาดฟอเร็กซ์ได้โดยง่าย

กฎหมายไทย ยังไม่มีกฎหมายรองรับ จะมีเพียงแต่กลุ่มสถาบันการเงินใหญ่ๆเท่านั้นที่รัฐบาลอนุญาตให้ทำการซื้อ-ขาย เทรดค่าเงินได้ อย่างเช่นธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นต้น

สาเหตุคงสืบเนื่องมาจากประวัติในอดีตที่ไม่ค่อยจะดีนัก อีกทั้งการลุงทุนมีความเสี่ยงสูง ต้องใช้เงินในจำนวนมาก(ในอดีต)ด้วยเหตุต้องใช้เงินจำนวนมากนี่เองทำให้รัฐบาลหวั่นเกรงกลัวเหล่ามิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางนำเงินไปฟอกจึงไม่อนุญาตให้มีบริษัท Brokerในประเทศ มีกฎหมายห้ามแชร์ลูกโซ่ และระดมทุนเพื่อการเทรดค่าเงิน

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ได้อธิบายเกี่ยวกับกฎหมายไทยและตลาด Forex ดังนี้

นักลงทุนที่ดำเนินธุรกรรมในลักษณะดังกล่าวด้วยตนเองสามารถกระทำได้ แต่ผู้ลงทุน นั้นต้องรับผิดชอบในความเสี่ยงที่อาจเกิดความเสียหายจากการขาดทุนในการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศของท่านเอง ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีการออกใบอนุญาตให้ผู้ใดประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงิน ต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยน ในลักษณะการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ ดังนั้น หากมีบุคคลใดมาชักชวนให้ร่วมลงทุนในลักษณะดังกล่าวให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ท่านอาจโดนมิจฉาชีพหลอกลวงและอาจได้รับความเสียหายได้ กรณีที่มีการชักชวนประชาชนให้ลงทุนในการเก็งกำไรอัตราแลกปเลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยที่ผู้ชักชวนดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้น ไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ ปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน การกระทำดังกล่าวถือว่าเข้าข่าย เป็นการกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527

Related posts